AirAsia Newsroom

View Original

ไทยแอร์เอเชีย ผนึกกำลัง ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และ บีเอซี

เปิดหลักสูตรผลิตและพัฒนา “ช่างอากาศยาน” ร่วมงานไทยแอร์เอเชีย พร้อมก้าวสู่ตลาดอุตสาหกรรมการบิน

BANGKOK, 3 July 2017 - ไทยแอร์เอเชียลงนามความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และ โรงเรียนการบินกรุงเทพ โดย บริษัทบางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด (บีเอซี) ประสานจุดแข็งร่วม จัดหลักสูตรการศึกษาเพื่อพัฒนาและผลิตช่างอากาศยาน หรือ Aircraft Mechanic ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้นใช้เวลาในการเรียน 1 ปีเมื่อจบแล้วทำงานทันทีกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย

นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสายการบินราคาประหยัด ซึ่งสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์การเดินทางของคนทั่วโลก ทำให้มีความต้องการบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการบิน ที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ธุรกิจ รวมทั้งช่างอากาศยานหรือ Aircraft Mechanic เพื่ รองรับแผนการขยายตัวของบริษัท ซึ่งปัจจุบันไทยแอร์เอเชียมีพนักงานในส่วนของการซ่อมบำรุงอากาศยานทั้งหมด 321 คน แบ่งเป็น วิศวกรอากาศยาน 105 คน และ ช่างอากาศยาน 216 คน กำกับดูแลเครื่องบินแอร์บัส เอ320 จำนวน 54 ลำ (เป้าหมายเครื่องบินครบ 58 ลำ ณ สิ้นปี 2560) โดยสายการบินตั้งเป้าเพิ่มจำนวนช่างอากาศยานอีกประมาณ 100 คน ภายใน 3 ปี

ทั้งนี้ที่ผ่านมา สายการบินได้เปิดรับสมัครช่างอากาศยานที่จบการศึกษาจากที่ต่างๆ แต่คุณสมบัติของผู้สมัครยังไม่ตรงและเพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นสายการบินจึงได้วางแผนร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ซึ่งเป็นสถาบันที่จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรช่างอากาศยานตามมาตรฐานขอ งองค์กรความปลอดภัยแห่งสหภาพยุโรปหรือ EASA อยู่แล้ว รวมทั้งกับ บีเอซี ซึ่งเป็นสถาบันที่เปิดสอนด้านอากาศยานชั้นนำเข้ามาเติมเต็มทางด้านภาคปฏิบัติ ซึ่ง

เชื่อมั่นได้ว่า หลักสูตรช่างอากาศยาน ภายใต้ความร่วมมือนี้จะผลิตช่างอากาศยานที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นที่ยอม รับและมีคุณสมบัติตรงตามที่สายการบินไทยแอร์เอเชียตั้งเป้าหมายไว้อย่างสมบูร ณ์

ดร.สาธิต พุทธชัยยงค์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กล่าวถึงความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ว่า มหาวิทยาลัย มียุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรด้านซ่อมบำรุงอากาศยาน อย่างชัดเจน ได้จัดตั้งสถาบันการบินแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพขึ้นโดยได้รั บการรับรองเป็นศูนย์ฝึกอบรมช่างอากาศยานตามมาตรฐาน EASA PART 147 ก่อนเปิดหลักสูตรฝึกอบรมช่างอากาศยานตามมาตรฐาน EASA PART 66 CAT B 1.1 ขึ้นเมื่อต้นปี 2559 แต่ก็ยังไม่สามารถผลิตช่างอากาศยานออกสู่ภาคอุตสาหกรรมได้เพียงพอต่อความ ต้องการในอุตสาหกรรม “หลักสูตรช่างอากาศยาน” จึงนับเป็นหลักสูตรที่ 2 ของสถาบันการบินแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

“มหาวิทยาลัยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ ภาคการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม ได้เข้ามาร่วมกันจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาและผลิตช่างอากาศยานร่วมกับไทยแอร์เอเชีย และ บีเอซี เพราะประเทศไทยยังขาดบุคลากรด้านนี้อีกเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันประเทศที่มีศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานในภูมิภาคนี้ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหพันธ์รัฐมาเลเซีย
ซึ่งทั้งสามประเทศนี้ได้มีการพัฒนาบุคลากรด้านซ่อมบำรุงอากาศยานมาก่อนและ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินได้ให้ข้อ มูลว่า เฉพาะภูมิภาคเอเซียยังคงมีความต้องการบุคลากรด้านการบิน การควบคุมจราจรทางอากาศและรวมถึงฝ่ายช่างอากาศยานภาคพื้นกว่า 40,000 อัตราข้อมูลนี้ส่งสัญญาณว่าประเทศไทยจะต้องเร่งผลิตบุคลากรรองรับทั้งในด้านป ริมาณและคุณภาพโดยเร่งด่วนเช่นกัน” ดร.สาธิตกล่าว

นาวาอากาศโท ปิยะ ตรีกาลนนท์ ประธานกรรมการฝ่ายบริหาร บีเอซี กล่าวถึงความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ว่า เป็นการจัดอบรมและจัดการเรียนการสอนด้านช่างอากาศยานหลักสูตรแรกของบีเ อซี ทั้งนี้ บีเอซี เป็นโรงเรียนการบินเอกชน แห่งแรกใ ประเทศไทย ที่เปิดสอนหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี ตลอดหลักสูตร ประกอบไปด้วย หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล หลักสูตรการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน หลักสูตรการบินด้วยเครื่องบินสองเครื่องยนต์ รวมไปถึงหลักสูตรนักบินพาณิชย์เอก การจัดการหลักสูตรที่ผ่านมาทำให้ บีเอซี มีความเชี่ยวชาญทางด้านเครื่องบินสูงและมีช่างอากาศยานเพื่อดูแลเครื่องบินที่ใช้ สอนให้กับนักศึกษาในหลักสูตร การเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรช่างอากาศยานดังกล่าว นักศึกษาในหลักสูตรจะได้เข้ามาเรียนรู้การดูแลซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบินจริงกับช่ างอากาศยานของบีเอซี

สำหรับหลักสูตรช่างอากาศยาน (Student Aircraft Mechanic) เป็นหลักสูตรระยะสั้นใช้ระยะเวลาในการเรียน 1 ปี โดยรับสมัครผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ หรือ ปวส. ในสาขาช่างยนต์ หรือช่างไฟฟ้า หรือช่างอิเล็กทรอนิกส์เข้าศึกษา ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าศึกษาในหลักสูตร จะเข้ารับการอบรมทักษะด้านงานซ่อมบำรุ อากาศยานพื้นฐาน ณ สถาบันการบินแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพเ ป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นจะเรียนในภาคปฏิบัติกับบีเอซีเป็นระยะเวลา 3
เดือน และหลังจากนั้นนักศึกษาจะเข้าไปเรียนรู้ขั้นตอนและฝึกการปฏิบัติจริงหน้างาน ( On The Job ) ณ สายการบินไทยแอร์เอเชียเป็นระยะเวลา 3 เดือน รวมเรียนทฤษฎี ปฏิบัติ และฝึกงาน 12 เดือน ทั้งนี้ในระยะแรกของการเปิดหลักสูตรนี้มีเป้าหมายเพื่อผลิตช่างอากาศยานป้อนใ ห้กับ สายการบินไทยแอร์เอเชียโดยเฉพาะ ดังนั้นในระหว่างการเรียนนักศึกษาจะได้รับเงินเดือนจากไทยแอร์เอเชียเสมือนเป็ นพนักงานของสายการบินไทยแอร์เอเชีย

ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและยื่นใบสมัครได้แล้วผ่าน www.airasia.com/recruitment ตั้งแต่วันนี้-31 กรกฎาคม 2560 เพื่อผ่านขั้นตอนการคัดเลือก และเปิดภาคการศึกษาในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป